วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

3G หรือ The Third Generation Mobile Network

3G หรือ The Third Generation Mobile Network

คือมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียงและการส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สาย ด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ITU : International Telecommunication Union)

มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 850, 900, 1800, 1900 และ2100 ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีสามารถการนำเสนอข้อมูลใช้งานด้านมัลติมีเดียส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูง ช่วยให้การใช้บริการมัลติมีเดีย ผ่าน 3G เป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น Video call, VDO Streaming, หรือใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งรับ-ส่งอีเมลและท่องเว็บไซต์ต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้นซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้สะดวก และรวดเร็วมากขึ้นด้วย


3G ดีกว่า 2G อย่างไร

ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่และสมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่, ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยีซึ่งมีลักษณะเด่น 5 ข้อ ดังนี้
-       รับ-ส่งข้อมูลได้เร็วกว่า
-       รองรับการใช้งาน Audio และ VDO streaming
-       รองรับการประชุม VDO conference
-       เข้า Web และ WAP ได้เร็วกว่า
-       รองรับการใช้งานการดู TV ผ่านเน็ต (IPTV)

คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย


สเปคโทรศัพท์ที่รองรับ 3G

โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จะใช้งาน 3G ได้ ต้องเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่รองรับระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 850, 900, 1800, 1900 และ 2100 ซึ่งโทรศัพท์แต่ละรุ่นก็รองรับย่านความถี่ที่ต่างกัน ซึ่งก่อนที่เราจะซื้อโทรศัพท์ที่นำมาใช้งานนั้น ต้องศึกษาก่อนว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นที่เราจะซื้อมาใช้นั้นรองรับความถี่ใด และ 3G ที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Operator) นั้น เปิดให้บริการ 3G ที่คลื่นความถี่ใด

ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้ามีโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ที่ รองรับย่านความถี่ 2100 MHz หรือ 850 MHz จะไม่สามารถใช้เครือข่าย 3G ของ AIS ได้ เนื่องจาก AIS เปิดให้บริการ 3G ในย่านความถี่ 900 MHz ความถี่จึงไม่ตรงกัน และสำหรับลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่รองรับเฉพาะระบบ 2G นั้นจะไม่สามารถใช้งานได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นคนละระบบ ถ้าลูกค้าต้องการใช้ 3G ของ AIS ลูกค้าจะต้องหาซื้อเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รองรับระบบ 3G W-CDMA ในย่านความถี่ 900 MHz


ประโยชน์ของ 3G

จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูงทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียงและแอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวิดีโอการดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และการแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟที่สร้างความสนุกสนานและสมจริงมากขึ้น


ติดตามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 3G, พื้นที่ให้บริการ, แพ็กเกจ, มือถือที่รองรับ 3G และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ทางhttp://www.ais.co.th/3g/
อ้างอิง

VPN คืออะไร ?

VPN คืออะไร ?

เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (อังกฤษ: Virtual Private Network: VPN) คือ เครือข่ายที่มีการติดต่อเชื่อมโยงโดยอาศัยเส้นทางจากเครือข่ายสาธารณะในการ เชื่อมต่อกัน แต่เครือข่ายชนิดนี้จะเชื่อมต่อกันได้ภายในองค์กรเดียวกันเท่านั้น การส่งข้อมูลที่เป็นเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) จะมีการเข้ารหัสแพ็กเก็ตก่อนการส่ง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูล และส่งข้อมูลไปตามเส้นทางที่สร้างขึ้นเสมือนกับอุโมงค์ที่อยู่ภายในเครือ ข่ายสาธารณะ (Public Network) นั่นก็คือเครือข่าย อินเทอร์เน็ต นั่นเอง เครือข่ายส่วนตัวเสมือนสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีก เครือข่ายหนึ่งได้ VPN จะช่วยให้คุณสามารถส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้ได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการส่งข้อมูลในแต่ละครั้ง
เครือข่ายส่วนตัว(Private Network) เป็นระบบเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นไว้สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของ และมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งทรัพยากรและการสื่อสารต่างที่มีอยู่ในเครือข่ายจะมีไว้เฉพาะบุคคลใน องค์กรเท่านั้นที่มีสิทธเข้ามาใช้ บุคคลภายนอกเครือข่ายไม่สามารถเข้ามาร่วมใช้งานบนเครือข่ายขององค์กรได้ ถึงแม้ว่าจะมีการเชื่อมโยงกันระหว่างสาขาขององค์กรและในเครือข่ายสาธารณะก็ ตาม เพราะฉะนั้น ระบบเครือข่ายส่วนตัวจึงมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับและเรื่องความ ปลอดภัย ส่วนเครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network) เป็นเครือข่ายที่รวมเอาเครือข่ายระบบต่างๆ ไว้ด้วยกันและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างอิสระ เหมาะสำหรับบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเอง โดยการไปเช่าช่องทางของเครือข่ายสาธารณะซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานจัดตั้ง ขึ้น สามารถใช้งานได้ทันทีและค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัว
ลักษณะการทำงานของเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network) เครือข่ายส่วนตัวเสมือน หรือ Virtual Private Network เป็นเครือข่ายที่มีเส้นทางทำงานอยู่ในเครือข่ายสาธารณะ ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลในเครือข่ายส่วนตัวจึงเป็นเรื่องที่ต้อง คำนึงถึงเป็นอย่างมาก เครือข่ายส่วนตัวเสมือนจะมีการส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเก็ตออกมาที่เครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ก่อนการส่งข้อมูล เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลและส่งข้อมูลผ่านอุโมงค์ (Tunneling) ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นจากจุดต้นทางไปถึงปลายทางระหว่างผู้ให้บริการ VPN กับผู้ใช้บริการ การเข้ารหัสข้อมูลนี้เอง เป็นการไม่อณุญาตให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้จนสามารถที่จะส่งไปถึงปลายทาง และมีเพียงผู้รับปลายทางเท่านั้นที่สามารถถอดรหัสข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้ได้
อ้างอิงhttp://vpn.nkh.go.th/vpn.php

Broadband คืออะไร


"Broadband" คืออะไร
"Broadband" เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ทั่วไปในการกล่าวถึงการติดต่อผ่านเครือข่ายความเร็วสูง ในที่นี้จะหมายถึงการติดต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทางเคเบิลโมเด็มและสายชนิด Digital Subscriber Line (DSL) ซึ่งนิยมเรียกว่าการติดต่ออินเทอร์เน็ตแบบ broadband โดยมีค่า "Bandwidth" จะเป็นค่าที่อธิบายถึงความเร็วสัมพัทธ์ในการติดต่อกับเครือข่าย เช่น การติดต่อผ่านโมเด็มโดยการ dial-up ที่ใช้งานทั่วไปในปัจจุบันทำงานมีค่า bandwidth 56 กิโลบิตต่อวินาที (kbps (103)) ไม่มีการกำหนดค่าที่แน่นอนไว้ว่า การติดต่อแบบ broadband จะต้องมีค่า bandwidth เท่าใด แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ค่าประมาณ 1 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps (106)) ขึ้นไป

'Broadband' คือ เทคโนโลยีการส่งข้อมูลความเร็วสูง ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยีบรอดแบนด์ จะทำให้ประสบการณ์ในการท่องโลกอินเตอร์เน็ต มีชีวิตชีวาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยประสิทธิภาพในการรับข้อมูลขนาดใหญ่ จึงทำให้ฝันของนักท่องอินเตอร์เน็ตเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ รูปภาพที่มีความละเอียดสูง เล่นเกมส์ออนไลซ์ หรือแม้กระทั่งการดูหนังฟังเพลงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เทคโนโลยี Broadband ผ่านดาวเทียม เป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูง 2 ด้านมาผสมผสานเพื่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม จะทำให้ข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่การให้บริการ ในลักษณะของบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตหมดไป เนื่องจากด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม ทำให้สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าว ยังสามารถนำมาประยุกต์ในการถ่ายทอดสด หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ โดยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายดาวเทียม (IP Broadcasting via Satellite) ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับข้อมูล หรือรับชมสัญญาณภาพ และเสียงในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) ได้ 
การเข้าถึงผ่านเคเบิลโมเด็มคืออะไร
เคเบิลโมเด็มเป็นการติดต่อที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง (หรือแต่ละเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางเครื่องข่ายเคเบิลของโทรทัศน์ การทำงานของเคเบิลโมเด็มมีลักษณะคล้ายกับเครือข่าย Ethernet LAN (Local Area Network) และมีความเร็วในการทำงานสูงสุดถึง 5 Mbps
แต่ความเร็วขณะที่ใช้งานจริงมักจะได้ค่าที่น้อยกว่าค่าสูงสุดนี้ เนื่องมาจากสายเคเบิล   ที่ใช้งานถูกลากผ่านบริเวณใกล้เคียงเกิดเป็นเครือข่าย LANs ซึ่งทำการแบ่งการใช้งาน bandwidth ที่ได้ทั้งหมดของสาย ด้วยสาเหตุของรูปแบบการเชื่อมต่อที่ "แบ่งใช้งานตัวกลางการติดต่อ" ผู้ใช้งานเคเบิลโมเด็มบางรายจึงประสบปัญหาว่า ในบางครั้งการเข้าถึงเครือข่ายทำได้ช้ามาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก นอกจากนี้ เคเบิลโมเด็มยังมีจุดอ่อนด้านความเสี่ยงต่อการถูกดักจับ packet และอันตรายจากการแชร์ทรัพยากรบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์มากกว่าการติดต่อด้วยวิธีอื่นๆ (อ่านรายละเอียดได้จากหัวข้อ "ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ต่อผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน" ของเอกสารฉบับนี้)
การเข้าถึงผ่านสายชนิด DSL คืออะไร
การติดต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Digital Subscriber Line (DSL) แตกต่างจากการติดต่อแบบเคเบิลโมเด็ม โดยผู้ใช้แต่ละคนที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายจะได้รับ bandwidth คงที่ อย่างไรก็ตามค่า bandwidth สูงสุดที่ผู้ใช้ได้รับจากการใช้งานสายชนิด DSL ต่ำกว่าค่า bandwidth สูงสุดที่ผู้ใช้ได้รับจากการใช้งานสายเคเบิลโมเด็ม เนื่องจากเทคโนโลยีที่นำมาใช้ต่างกัน นอกจากนั้น ค่า bandwidth ที่ผู้ใช้แต่ละคนได้รับเป็นค่าการใช้งานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านกับศูนย์ของผู้ให้บริการ DSL เท่านั้น ผู้ให้บริการจะไม่ให้การรับรองหรืออาจจะให้การรับรองน้อยมากสำหรับ bandwidth ที่ใช้ในการติดต่อออกไปยังอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อแบบ DSL ไม่มีจุดอ่อนต่อการถูกดักจับ packet เหมือนกับการใช้งานเคเบิลโมเด็ม แต่ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอื่นๆ ยังคงมีผลต่อทั้งการติดต่อแบบ DSL และเคเบิลโมเด็ม
การให้บริการแบบ broadband แตกต่างจากการให้บริการแบบ dial-up ที่ใช้งานโดยทั่วไปอย่างไรการให้บริการแบบ dial-up ที่ใช้งานโดยทั่วไปอาจเรียกได้ว่าเป็นการให้บริการแบบ "ติดต่อเมื่อต้องการใช้งาน" นั่นคือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเมื่อต้องการจะส่งข้อมูล เช่น e-mail หรือต้องการดาวน์โหลดเว็บเพจ หลังจากไม่มีข้อมูลที่ต้องการส่ง หรือหลังจากไม่มีการส่งข้อมูลเป็นระยะเวลาหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์จะตัดการติดต่อ นอกจากนี้ การติดต่อแต่ละครั้งโดยทั่วไปจะเป็นการขอเข้าใช้งานเครื่องรับโมเด็ม 1 เครื่องจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเครื่องรับโมเด็มแต่ละเครื่องจะมี IP address ที่แตกต่างกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะรับเอา IP address นั้นมาใช้งาน ทำให้แต่ละเครื่องมี IP address ต่างกันออกไป วิธีการดังกล่าวนี้ทำให้เป็นการยาก (แต่ยังมีความเป็นไปได้) ที่ผู้บุกรุกจะตรวจหาช่องโหว่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ แล้วนำไปใช้เพื่อลักลอบเข้าไปควบคุมเครื่อง

การให้บริการแบบ broadband อาจเรียกได้ว่าเป็นการให้บริการแบบ "ติดต่อตลอดเวลา" เนื่องจากเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง ไม่จำเป็นจะต้องเริ่มต้นการติดต่อใหม่ คอมพิวเตอร์จะติดต่อกับเครือข่ายตลอดเวลา และพร้อมที่จะรับส่งข้อมูลผ่านทาง Network Interface Card (NIC)

การใช้ 'ตัวจัดการดาวน์โหลด' ใน Windows Internet Explorer 9

การใช้ 'ตัวจัดการดาวน์โหลด' ใน Windows Internet Explorer 9

'ตัวจัดการดาวน์โหลด' จะแสดงรายการแฟ้มที่คุณดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต แสดงตำแหน่งในคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บแฟ้มดังกล่าว และช่วยให้การหยุดดาวน์โหลดชั่วคราว การเปิดแฟ้ม และการดำเนินการอื่นๆ เป็นเรื่องง่ายดายอีกด้วย
ดูวิดีโอนี้เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้ 'ตัวจัดการดาวน์โหลด' ใน Internet Explorer 9 (0:40)
Get Microsoft Silverlight

การเปิด 'ตัวจัดการดาวน์โหลด'

  1. เปิด Internet Explorer โดยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม' ในกล่องค้นหา ให้พิมพ์ Internet Explorer จากนั้นในรายการของผลลัพธ์ ให้คลิก Internet Explorer
  2. คลิกปุ่ม เครื่องมือ รูปภาพของปุ่ม 'เครื่องมือ' แล้วคลิก ดูดาวน์โหลด

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การใช้ Internet Explorer

การใช้ Internet Explorer

ด้วยคุณสมบัติต่างๆ เช่น แท็บ เว็บไซต์ที่ชอบ และการแบ่งปันเว็บเพจในตัว Internet Explorer 10 สำหรับ Windows Phone 8 ช่วยให้คุณสามารถท่องเว็บได้อย่างง่ายดายในขณะเดินทาง (คุณต้องเชื่อมต่อกับข้อมูลเครือข่ายโทรศัพท์หรือ Wi-Fi เพื่อเรียกดูเว็บ ดู การเชื่อมต่อ: วิธีการและเวลา และ การเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม)
Internet Explorer 10 สำหรับ Windows Phone

วิธีการเรียกดูเว็บ

  1. ที่ เริ่มต้นไอคอน เริ่มต้น แตะ Internet Explorer ไอคอน เริ่มต้น ของ Internet Explorer แล้วแตะ แถบที่อยู่ (คุณยังสามารถกดปุ่มฮาร์ดแวร์ ค้นหาปุ่ม ค้นหาในโทรศัพท์ของคุณเพื่อค้นหาเว็บโดยใช้ Bing ได้ด้วย)
  2. พิมพ์ที่อยู่เว็บ (URL) ของไซต์ที่คุณต้องการเยี่ยมชม ขณะที่คุณพิมพ์ Internet Explorer จะแนะนำผลลัพธ์ที่ตรงกันที่เป็นไปได้ หากคุณเห็นไซต์ที่คุณกำลังมองหา ให้แตะที่ไซต์นั้น
  3. หากคุณไม่เห็นไซต์นั้น ให้แตะ ไป ไอคอน ไปเพื่อค้นหา

    เคล็ดลับ

    • หากคุณไม่เห็นคำแนะนำการค้นหา แตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > การตั้งค่า > การตั้งค่าขั้นสูง แล้วเลือก รับคำแนะนำจาก Bing ขณะที่ฉันพิมพ์
    • คุณสามารถกำหนดปุ่มแถบที่อยู่เองเพื่อให้เข้าถึงแท็บ รายการโปรดได้อย่างรวดเร็ว หรือเพื่อหยุดและรีเฟรชเว็บเพจ แตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > การตั้งค่า จากนั้นภายใต้ ใช้ปุ่มแถบที่อยู่สำหรับ ให้เลือกสิ่งที่คุณต้องการ
    • แบ่งปันลิงก์กับเพื่อนหนึ่งคนหรือหลายคน โดยแตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > แบ่งปันเพจ แล้วเลือกวิธีการที่คุณต้องการแบ่งปัน
    • ปักหมุดไซต์ที่หน้าจอเริ่มต้นเพื่อให้เข้าถึงได้สะดวก แตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > ปักหมุดที่หน้าจอเริ่มต้น

วิธีการนำทางในเว็บเพจ

เมื่อคุณพบหน้าที่คุณต้องการแล้ว มีสองสามวิธีในการเข้าดูหน้านั้น ลองเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้
  • เมื่อต้องการเลื่อนไปมาในหน้านั้น ให้ตวัดนิ้วของคุณผ่านหน้าจอในทิศทางใดก็ได้
  • เมื่อต้องการขยายเข้า ให้กางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ออกจากกันเพื่อขยาย หุบนิ้วเข้าด้วยกันเพื่อขยายออก
  • เมื่อต้องการจัดกึ่งกลางและขยายเข้าโดยอัตโนมัติ ให้แตะสองครั้งที่จุดที่คุณต้องการขยาย แตะสองครั้งอีกครั้งเพื่อขยายกลับออกมา
  • เมื่อต้องการเปิดลิงก์ เพียงแตะลิงก์นั้น
  • เมื่อต้องการค้นหาข้อความที่ต้องการในหน้าใดๆ ให้แตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > ค้นหาในเพจ
  • หากคุณเห็นหมายเลขโทรศัพท์หรือที่อยู่ บ่อยครั้งคุณสามารถแตะเพื่อโทรหาหมายเลขนั้นหรือระบุที่อยู่นั้นในแผนที่

วิธีการกลับไปยังเว็บเพจที่คุณเคยเยี่ยมชม

มีสองสามวิธีในการกลับไปยังเว็บเพจที่คุณเข้าดูมาก่อนได้อย่างรวดเร็ว ลองเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้
  • หากคุณอยู่ใน Internet Explorer และกำลังดูเว็บเพจหลายหน้า ให้กดปุ่ม ย้อนกลับ ปุ่ม ย้อนกลับ ของโทรศัพท์เพื่อเยี่ยมชมเว็บเพจเหล่านั้นอีกครั้ง
  • หากคุณเพิ่งเปิด Internet Explorer คุณสามารถไปที่ประวัติการเรียกดูของคุณเพื่อกลับไปยังไซต์ที่คุณเคยเยี่ยมชมในอดีตได้อย่างรวดเร็ว แตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > ล่าสุด แล้วแตะไซต์ที่คุณต้องการดูอีกครั้ง

วิธีการเปิดหน้าต่างบราวเซอร์หลายหน้าต่างโดยใช้แท็บ

คุณสามารถเปิดหน้าต่างบราวเซอร์แยกกันได้หกหน้าต่าง ที่เรียกว่า "แท็บ" พร้อมกันได้ ด้วยวิธีนี้ คุณสามารถข้ามไปมาระหว่างเว็บไซต์หลายเว็บได้อย่างง่ายดาย
  1. ที่ เริ่มต้น ไอคอน เริ่มต้นแตะ Internet Explorer ไอคอน เริ่มต้น ของ Internet Explorerแตะ เพิ่มเติม ไอคอน เพิ่มเติมแล้วแตะ แท็บ (หรือหากคุณได้ตั้งค่าปุ่มแถบที่อยู่ไว้สำหรับแท็บ เพียงแตะที่นั่น)
    แท็บ Internet Explorer
  2. แตะ สร้างไอคอน สร้าง เพื่อเปิดแท็บเปล่า
  3. เมื่อต้องการสลับไปมาระหว่างแท็บ ให้แตะรูปขนาดย่อของแท็บที่คุณต้องการดูแบบเต็มหน้าจอ
  4. เมื่อต้องการปิดแท็บ ให้แตะ ปิด ไอคอน ปิดบนแท็บที่คุณไม่ต้องการใช้อีกต่อไป

วิธีการเพิ่มไซต์ไปยังรายการเว็บไซต์ที่ชอบ

  1. ใน Internet Explorer ไอคอน เริ่มต้น ของ Internet Explorer ให้เปิดเว็บไซต์ที่คุณต้องการบันทึก
  2. แตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > เพิ่มในรายการโปรด
  3. Internet Explorer จะใส่ชื่อและที่อยู่เว็บ (URL) ของไซต์นั้นให้โดยอัตโนมัติ
  4. หากคุณต้องการทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ให้แตะภายในกล่องข้อความ เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ให้แตะ เสร็จสิ้น ไอคอน เสร็จสิ้น

    หมายเหตุ

    ในขณะนี้ คุณไม่สามารถนำเข้าเว็บไซต์ที่ชอบจากคอมพิวเตอร์มายังโทรศัพท์ของคุณได้

วิธีการเปิด แก้ไข หรือลบเว็บไซต์ที่ชอบ

  1. ใน Internet Explorer ไอคอน เริ่มต้น ของ Internet Explorerแตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > รายการโปรด (หรือหากคุณได้ตั้งค่าปุ่มแถบที่อยู่ไว้สำหรับเว็บไซต์ที่ชอบ เพียงแตะที่นั่น)
  2. ตวัดนิ้วจนกระทั่งคุณเห็นชื่อของเว็บไซต์ที่ชอบที่คุณต้องการ จากนั้นเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้
    • เมื่อต้องการเปิดไซต์ ให้แตะที่ไซต์นั้น
    • เมื่อต้องการแก้ไขไซต์ ให้แตะไซต์นั้นค้างไว้ แล้วแตะ แก้ไข เพื่อพิมพ์ชื่อหรือที่อยู่ใหม่
    • เมื่อต้องการลบไซต์ออกจากรายการของคุณ ให้แตะไซต์นั้นค้างไว้ แล้วแตะ ลบ

วิธีการดูหรือลบประวัติการเรียกดูของคุณ

  1. ใน Internet Explorer ไอคอน เริ่มต้น ของ Internet Explorer แตะ เพิ่มเติมไอคอน เพิ่มเติม > ล่าสุด เพื่อดูไซต์ที่คุณเคยเยี่ยมชม
หากต้องการลบประวัติของคุณ เลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้:

  • เมื่อต้องการลบประวัติการเรียกดูทั้งหมด ให้แตะ ลบ ไอคอน ลบ
  • เมื่อต้องการลบไซต์ล่าสุด ให้แตะไซต์ค้างไว้แล้วแตะ ลบ ไอคอน ลบ
  • เมื่อต้องการเลือกลบมากกว่าหนึ่งไซต์ ให้แตะ เลือกไอคอน เลือกเลือกกล่องกาเครื่องหมายถัดจากไซต์ที่คุณต้องการลบ แล้วแตะ ลบไอคอน ลบ

หมายเหตุ

  • เมื่อต้องการเลือกลบทีละไซต์ โทรศัพท์ของคุณต้องทำงานบนเวอร์ชั่นล่าสุดของซอฟต์แวร์ Windows Phone (ระบบปฏิบัติการ 8.0.10211.204) ดู ฉันจะอัพเดตซอฟต์แวร์ของโทรศัพท์ของฉันได้อย่างไร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการอัพเดตโทรศัพท์ของคุณ
  • เมื่อต้องการลบไฟล์ชั่วคราว คุกกี้ และรหัสผ่านที่บันทึกไว้ พร้อมด้วยประวัติการเรียกดูของคุณ ให้แตะ การตั้งค่า > ลบประวัติ